วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็ก


                              

การเล่นของเด็กเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็ก เกิดการพัฒนาด้านสังคม รวมทั้งทัศนคติ พฤติกรรม ถ้าผู้ดูแลหรือครู พ่อแม่ ใช้เวลาสนับสนุนและสอนพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะเพิ่มขึ้น ความก้าวร้าวจะลดลง
"หนู น้อยน่ารักคนหนึ่งกำลังคลานไปข้างหน้า พร้อมทั้งพยายามยื่นมือออกไปเพื่อคว้าตุ๊กตาหมี แต่ปรากฎว่า หนูน้อยสัมผัสได้แต่เพียงปลายเสื้อของตุ๊กตาหมีเท่านั้น หนูน้อยที่น่ารักจึงร้องไห้ทำให้จุกนมหลอกหลุดร่วงจากปาก เด็กอื่นๆ ที่กำลังเล่นอยู่ในห้องเริ่มรู้สึกอึดอัดกับเสียงร้อง บางคนพยายามเอาจุกนมใส่ปากหนูน้อย และทำท่าจะเข้าไปปลอบโยน” นี่เป็นเหตุการณ์ที่เราสามารถพบเห็นได้ในเวลาที่ปล่อยให้เด็กเล็กหรือ เด็กอนุบาลเล่นอยู่ด้วยกัน ดังนั้น หากผู้ใหญ่จะช่วยกันสนับสนุนให้เด็กมีพัฒนาการทางสังคม รู้จักการมีปฏิสัมพันธ์ การอยู่ร่วมกับเด็กอื่นตั้งแต่วัยเด็กเล็ก เราก็จะเห็นพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะ สมเกิดขึ้นในวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่มากขึ้น การ เล่นของเด็กเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านสังคม รวมทั้งทัศนคติ พฤติกรรม ถ้าผู้ดูแลหรือครู พ่อแม่ ใช้เวลาสนับสนุนและสอนพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะเพิ่มขึ้น ความก้าวร้าวจะลดลง จากการศึกษาเด็กที่มีอายุ 3 เดือนถึงอนุบาล ที่เข้าโปรแกรมทดลองให้เน้นการเจริญเติบโตทางสติปัญญา พบว่าครูอนุบาลให้คะแนนความก้าวร้าวมากกว่ากลุ่มที่เข้าโปรแกรมอยู่ในศูนย์ รับเลี้ยงเด็ก แต่เมื่อหลักสูตรสังคมหัวข้อ "เพื่อนของฉันและฉัน" ถูกใส่เข้าไป ความก้าวร้าวของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม การสนับสนุนพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสมจึงน่าจะทำให้เด็กรู้จักความแตกต่าง ในวิธีการเรียนรู้ที่จะสัมพันธ์หรือเล่นกับคนอื่นค่า นิยมของคนในครอบครัวและสังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กด้วยเช่น กัน เด็กๆ มักจะให้ความสำคัญกับการได้รับคำชมจากผู้ใหญ่ ยามที่เด็กมีความกังวลใจและมีพ่อแม่คอยให้กำลังใจ จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมทางสังคมที่ดี การเน้นความสำคัญในการช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเป็นไปได้จะส่งผลให้เด็กทำ กิจกรรมที่ช่วยเหลือมากขึ้น รูปแบบของพฤติกรรมทางสังคมปัจจุบัน มักจะเป็นในลักษณะให้เด็กทำอย่างที่บอก แต่อย่าทำอย่างที่ฉันทำ อย่างไรก็ตาม เด็กจะชอบเลียนแบบมากกว่า ตัวอย่างเช่น ครูนิดจะผูกเชือกรองเท้าให้น้องก้องทุกวัน วันหนึ่งเธอเห็นน้องก้องพยายามจะช่วยผูกรองเท้าให้เพื่อน พฤติกรรมอื่นๆ ที่เด็กเลียนแบบก็มีให้เห็นบ่อยๆ ดังนั้น การเป็นแบบอย่างจึงมีอิทธิพลมากกว่าการสั่งสอน เด็กที่ช่างสังเกตและมีความใกล้ชิดผู้ใหญ่ จะได้รับ อิทธิพลจากสมาชิกในครอบครัวและครูเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคม ทั้งในเรื่องของการแสดงพฤติกรรม(แยกแยะ) ที่ดีและไม่ดี ดังนั้น พฤติกรรมทางบวกที่เด็กทำจึงควรได้รับการสนับสนุนโดยการชม เมื่อเด็กทำงานร่วมกับเพื่อน ก็พูดในสิ่งที่เป็นทางบวก เช่น เธอแบ่งปันเพื่อนเพราะเธอชอบช่วยเหลือคนอื่น เธอเป็นเด็กที่มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ แต่ผู้ใหญ่ไม่ควรให้รางวัลมากเกินไป พ่อแม่ที่ให้รางวัลมากเกินไปอาจทำให้ความปรารถนาที่จะมีพฤติกรรมทางสังคม เกิดจากการได้รางวัลภายนอกมากกว่าภายใน นอกจากนี้ ในสถานศึกษาที่ครูมักจะให้ดาวกับนักเรียนที่ทำดี ก็ต้องระวังเช่นกัน เพราะการให้ดาวกับพฤติกรรมทางสังคมบ่อยเกินไปขณะที่เด็กคนอื่นไม่ได้ จะทำให้เด็กคนอื่นหัวเสีย เคยมีกรณีที่เด็กกลับไปบอกพ่อแม่ว่า เขามีวิธีจะได้ดาวคือ ทำไม่ดีก่อน แล้วก็ทำดี จากนั้นครูก็จะให้ดาว
การสนับสนุนหรือพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสมให้กับเด็กนั้น ครูและพ่อแม่จึงควรมีความเข้าใจและมีทักษะในสิ่งต่อไปนี้
1. รู้จักการชมเชย ให้กำลังใจเด็ก เข้าใจการแสดงออกถึงความรู้สึกของเด็ก สอนให้เด็กแสดงความเห็นใจเพื่อนเมื่อเขาเสียใจ สอนให้เด็กเข้าใจความโกรธ ซึ่งความโกรธนี้มักจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ความรู้สึกที่เด็กเคยประสบ เด็กวัย 3-8 ขวบ จะเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้สึกในแต่ละช่วงอายุ เด็ก อายุ 3.5 ขวบ จะรู้สึกถึงความสุข เด็กอายุ 3.5-4 ขวบ จะมีความกลัว เด็กวัย 3-8 ขวบจะรู้สึกโกรธและเสียใจ ดังนั้น ผู้ดูแลเด็กต้องช่วยเด็กแสดงความรู้สึกผ่านทางคำพูดและเข้าใจความรู้สึกนั้น ครูสามารถใช้การสะท้อนความรู้สึกเด็กโดยการพูดว่า ดูเหมือนเธอกำลังรู้สึกเสียใจ, เธอเหมือนกำลังรู้สึกโกรธ, เธอต้องการให้ฉันสนใจเธอเดี๋ยวนี้ ในทันทีที่ฉันเปลี่ยนผ้าให้น้องแล้ว ฉันจะคุยกับเธอ การพูดเช่นนี้จะทำให้เด็กแปลกใจว่าครูเข้าใจความรู้สึกของเขา และเขาจะรู้สึกสบายใจขึ้นเมื่อครูทำให้เขาแน่ใจว่าจะกลับมาในทันที 2. สนับสนุนให้เข้าใจผู้อื่น ช่วยเด็กสังเกตและตอบสนองความรู้สึกของคนอื่นเช่น เด็กขับรถเด็กเล่นไปชนเพื่อน ครูอาจบอกว่า เพื่อน เขาเสียใจและเจ็บ” เราจะทำอะไรเพื่อช่วยให้เขารู้สึกดีขึ้นไหม ครูควรสังเกตหน้าเด็กและอาจแนะเด็กให้รถจักรยานเพื่อนที่ร้องไห้ขับ ความสามารถของเด็กที่จะแยกแยะอารมณ์เท่าๆ กับความสามารถในการแสดงความเห็นอกเห็นใจเป็นพฤติกรรมทางสังคมที่ควรฝึกให้ เด็ก เทคนิคที่ช่วยให้เด็กเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นคือการแสดงบทบาทสมมุติ (role play) 3. การใช้เด็กที่ถูกกระทำเป็นตัวอย่าง เน้นผลของการทำร้ายและมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม เช่น การชกต่อย ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากแสดงพฤติกรรมนั้นแล้ว เช่น ดูซิ นั่นทำให้เขาเจ็บ เขาร้องไห้ ฉันไม่สามารถปล่อยให้เธอทำร้ายเด็กอื่นและฉันไม่ต้องการให้ใครทำเธอเจ็บด้วย เราต้องช่วยให้ทุกคนมีความสุขและปลอดภัยในห้องนี้ 4. ช่วยให้เด็กกล้าแสดงออกกับพฤติกรรมทางสังคม ถ้าเด็กขี้อายจะไม่กล้าแสดงพฤติกรรมทางสังคม และยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตนเอง เพราะความเชื่อมั่นของเด็กมักจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการปฎิสัมพันธ์กับบุคคล อื่น5. สนับสนุนวิธีการและทางเลือกในการแก้ปัญหาและ ทางเลือกในการแก้ไขสถานการณ์ขัดแย้ง วางแผนการมีพฤติกรรมทางสังคม ช่วยเด็กคิดทีละขั้น เหตุผลในการตอบสนองเมื่อเขามีปัญหาทางสังคมกับเพื่อน ขั้นตอนอะไรที่จะเน้นการแก้ไขความขัดแย้งอย่างสงบ เด็กมีความรู้สึกเหมือนหรือต่างจากเด็กคนอื่น ครูจะต้องช่วยเด็กคิด จินตนาการถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละพฤติกรรม ครูควรช่วยเด็กที่ก้าวร้าวและ ขี้อายให้มีพฤติกรรมทางสังคมที่ดีขึ้นภายในสามเดือน 6. ใช้ปัญหาถาม เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่รบกวนคนอื่น ควรถามเรียบๆ ว่า "สิ่งที่เธอทำช่วยเธอได้อย่างไร" จะทำให้กลุ่มตระหนักว่าการกระทำของเด็กนั้นช่วยกลุ่มได้อย่างไรด้วย จะช่วยให้เด็กจำและรับผิดชอบต่อการกระทำของตน7. แสดงรูปของการช่วยเหลือคนอื่น การมีความสุขที่ได้ช่วยผู้อื่นและ ถามเด็กให้สร้างภาพโดยคำพูด การให้เด็กดูรูปเด็กที่ช่วยคนอื่น ให้ความร่วมมือ แบ่งปัน การทำงานเป็นกลุ่มและแต่งเรื่องราว จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดี ครูควรใช้คำถาม เธอคิดว่าเกิดอะไรขึ้นที่นี่” 8. ฝึกทักษะทางสังคมให้เด็ก เช่น การฟัง การพูดเพราะ การขอบคุณ การขอความช่วยเหลือ การแสดงความยินดี การคอย การเสนอตัวช่วยเหลือ การขอให้เล่นด้วย การสร้างมิตรภาพ ทักษะอื่นที่ช่วยให้เด็กสัมผัสกับความรู้สึก เด็กที่ได้รับการฝึกจะไม่เสียกำลังใจในการใช้คำสุภาพ รู้จักฟังผู้อื่นพูด เข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อน แบ่งปัน รู้จักรอคอย เข้าคิว ผลัดกัน รู้จักช่วยผู้อื่น ใช้หลักทางบวกในการสนับสนุนพฤติกรรมทางสังคมและลดความก้าวร้าว9. การใช้เหตุผล การรับฟังอย่างเห็นใจและขั้นตอนการใช้อำนาจ ความรัก การทำข้อตกลงจะช่วยให้เด็กเข้าใจกฎ รู้จักฟัง การอธิบายจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม การใช้อำนาจและการลงโทษจะน้อยลง เด็กก็จะมีระดับของเหตุผลมากขึ้น 10. ป้องกันสื่อที่รุนแรง โปรแกรมทีวีที่เป็นพฤติกรรมไม่ดี จะเป็นแบบของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและมีส่วนสนับสนุนให้เด็กพัฒนาพฤติกรรม ทางสังคมไปในทางที่ไม่เหมาะสมได้ การที่พ่อแม่ใช้เหตุผลและอธิบายให้เด็กเข้าใจอาจจะช่วยลดผลจากรายการทีวีที่ มีพฤติกรรมไม่ดีได้บ้าง
11. การตอบสนองและเตรียมทางเลือกต่อพฤติกรรมก้าวร้าว ผู้ดูแลเด็กไม่ควรเพิกเฉยต่อพฤติกรรมก้าวร้าว หรือยอมให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น รังแกเพื่อน ควรสอนถึงวิธีการทำให้เพื่อนรู้สึกดีขึ้น ครูควรรู้จักนำพฤติกรรมที่ไม่ดีมาใช้ในทางที่ยอมรับ เช่น เด็กขว้างลูกบอลไปที่เพื่อนคนหนึ่งอาจถูกฟาดกลับโดยเพื่อนคนอื่นได้ สอนการโกรธ การใช้คำแสดงความรู้สึกโกรธ ใช้คำแทนการกระทำ เช่น "ฉันรู้สึกหัวเสียเมื่อเกมถูกรบกวน" "ฉันไม่สามารถสร้างเสร็จถ้าเขาเอา บล๊อกไป" "ฉันใช้อันนี้ก่อน และฉันต้องการเล่นต่อให้เสร็จ"
การ พัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กต้องมีครูและพ่อแม่ที่มีความรู้ความเข้าใจเด็ก พร้อมที่จะช่วยสนับสนุนเด็กให้พัฒนาได้ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ เฉกเช่นการทำงาน หากเรามุ่งหวังให้งานสำเร็จออกไปด้วยดี เราก็ต้องทุ่มเทเวลา กำลังความสามารถที่มีอยู่ เด็กก็เช่นกัน เขาต้องการเวลาและความสามารถของครู พ่อแม่และผู้ใหญ่ ที่จะช่วยให้เขาเติบโตเป็นคนที่ดีในสังคม หากเราหวังแต่จะได้สิ่งดีๆ โดยไม่คิดจะลงทุนลงแรงอะไรเลย คงเป็นเรื่องยากอยู่ซักหน่อยละมัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น