วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็ก


                              

การเล่นของเด็กเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็ก เกิดการพัฒนาด้านสังคม รวมทั้งทัศนคติ พฤติกรรม ถ้าผู้ดูแลหรือครู พ่อแม่ ใช้เวลาสนับสนุนและสอนพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะเพิ่มขึ้น ความก้าวร้าวจะลดลง
"หนู น้อยน่ารักคนหนึ่งกำลังคลานไปข้างหน้า พร้อมทั้งพยายามยื่นมือออกไปเพื่อคว้าตุ๊กตาหมี แต่ปรากฎว่า หนูน้อยสัมผัสได้แต่เพียงปลายเสื้อของตุ๊กตาหมีเท่านั้น หนูน้อยที่น่ารักจึงร้องไห้ทำให้จุกนมหลอกหลุดร่วงจากปาก เด็กอื่นๆ ที่กำลังเล่นอยู่ในห้องเริ่มรู้สึกอึดอัดกับเสียงร้อง บางคนพยายามเอาจุกนมใส่ปากหนูน้อย และทำท่าจะเข้าไปปลอบโยน” นี่เป็นเหตุการณ์ที่เราสามารถพบเห็นได้ในเวลาที่ปล่อยให้เด็กเล็กหรือ เด็กอนุบาลเล่นอยู่ด้วยกัน ดังนั้น หากผู้ใหญ่จะช่วยกันสนับสนุนให้เด็กมีพัฒนาการทางสังคม รู้จักการมีปฏิสัมพันธ์ การอยู่ร่วมกับเด็กอื่นตั้งแต่วัยเด็กเล็ก เราก็จะเห็นพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะ สมเกิดขึ้นในวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่มากขึ้น การ เล่นของเด็กเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านสังคม รวมทั้งทัศนคติ พฤติกรรม ถ้าผู้ดูแลหรือครู พ่อแม่ ใช้เวลาสนับสนุนและสอนพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะเพิ่มขึ้น ความก้าวร้าวจะลดลง จากการศึกษาเด็กที่มีอายุ 3 เดือนถึงอนุบาล ที่เข้าโปรแกรมทดลองให้เน้นการเจริญเติบโตทางสติปัญญา พบว่าครูอนุบาลให้คะแนนความก้าวร้าวมากกว่ากลุ่มที่เข้าโปรแกรมอยู่ในศูนย์ รับเลี้ยงเด็ก แต่เมื่อหลักสูตรสังคมหัวข้อ "เพื่อนของฉันและฉัน" ถูกใส่เข้าไป ความก้าวร้าวของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม การสนับสนุนพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสมจึงน่าจะทำให้เด็กรู้จักความแตกต่าง ในวิธีการเรียนรู้ที่จะสัมพันธ์หรือเล่นกับคนอื่นค่า นิยมของคนในครอบครัวและสังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กด้วยเช่น กัน เด็กๆ มักจะให้ความสำคัญกับการได้รับคำชมจากผู้ใหญ่ ยามที่เด็กมีความกังวลใจและมีพ่อแม่คอยให้กำลังใจ จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมทางสังคมที่ดี การเน้นความสำคัญในการช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเป็นไปได้จะส่งผลให้เด็กทำ กิจกรรมที่ช่วยเหลือมากขึ้น รูปแบบของพฤติกรรมทางสังคมปัจจุบัน มักจะเป็นในลักษณะให้เด็กทำอย่างที่บอก แต่อย่าทำอย่างที่ฉันทำ อย่างไรก็ตาม เด็กจะชอบเลียนแบบมากกว่า ตัวอย่างเช่น ครูนิดจะผูกเชือกรองเท้าให้น้องก้องทุกวัน วันหนึ่งเธอเห็นน้องก้องพยายามจะช่วยผูกรองเท้าให้เพื่อน พฤติกรรมอื่นๆ ที่เด็กเลียนแบบก็มีให้เห็นบ่อยๆ ดังนั้น การเป็นแบบอย่างจึงมีอิทธิพลมากกว่าการสั่งสอน เด็กที่ช่างสังเกตและมีความใกล้ชิดผู้ใหญ่ จะได้รับ อิทธิพลจากสมาชิกในครอบครัวและครูเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคม ทั้งในเรื่องของการแสดงพฤติกรรม(แยกแยะ) ที่ดีและไม่ดี ดังนั้น พฤติกรรมทางบวกที่เด็กทำจึงควรได้รับการสนับสนุนโดยการชม เมื่อเด็กทำงานร่วมกับเพื่อน ก็พูดในสิ่งที่เป็นทางบวก เช่น เธอแบ่งปันเพื่อนเพราะเธอชอบช่วยเหลือคนอื่น เธอเป็นเด็กที่มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ แต่ผู้ใหญ่ไม่ควรให้รางวัลมากเกินไป พ่อแม่ที่ให้รางวัลมากเกินไปอาจทำให้ความปรารถนาที่จะมีพฤติกรรมทางสังคม เกิดจากการได้รางวัลภายนอกมากกว่าภายใน นอกจากนี้ ในสถานศึกษาที่ครูมักจะให้ดาวกับนักเรียนที่ทำดี ก็ต้องระวังเช่นกัน เพราะการให้ดาวกับพฤติกรรมทางสังคมบ่อยเกินไปขณะที่เด็กคนอื่นไม่ได้ จะทำให้เด็กคนอื่นหัวเสีย เคยมีกรณีที่เด็กกลับไปบอกพ่อแม่ว่า เขามีวิธีจะได้ดาวคือ ทำไม่ดีก่อน แล้วก็ทำดี จากนั้นครูก็จะให้ดาว
การสนับสนุนหรือพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสมให้กับเด็กนั้น ครูและพ่อแม่จึงควรมีความเข้าใจและมีทักษะในสิ่งต่อไปนี้
1. รู้จักการชมเชย ให้กำลังใจเด็ก เข้าใจการแสดงออกถึงความรู้สึกของเด็ก สอนให้เด็กแสดงความเห็นใจเพื่อนเมื่อเขาเสียใจ สอนให้เด็กเข้าใจความโกรธ ซึ่งความโกรธนี้มักจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ความรู้สึกที่เด็กเคยประสบ เด็กวัย 3-8 ขวบ จะเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้สึกในแต่ละช่วงอายุ เด็ก อายุ 3.5 ขวบ จะรู้สึกถึงความสุข เด็กอายุ 3.5-4 ขวบ จะมีความกลัว เด็กวัย 3-8 ขวบจะรู้สึกโกรธและเสียใจ ดังนั้น ผู้ดูแลเด็กต้องช่วยเด็กแสดงความรู้สึกผ่านทางคำพูดและเข้าใจความรู้สึกนั้น ครูสามารถใช้การสะท้อนความรู้สึกเด็กโดยการพูดว่า ดูเหมือนเธอกำลังรู้สึกเสียใจ, เธอเหมือนกำลังรู้สึกโกรธ, เธอต้องการให้ฉันสนใจเธอเดี๋ยวนี้ ในทันทีที่ฉันเปลี่ยนผ้าให้น้องแล้ว ฉันจะคุยกับเธอ การพูดเช่นนี้จะทำให้เด็กแปลกใจว่าครูเข้าใจความรู้สึกของเขา และเขาจะรู้สึกสบายใจขึ้นเมื่อครูทำให้เขาแน่ใจว่าจะกลับมาในทันที 2. สนับสนุนให้เข้าใจผู้อื่น ช่วยเด็กสังเกตและตอบสนองความรู้สึกของคนอื่นเช่น เด็กขับรถเด็กเล่นไปชนเพื่อน ครูอาจบอกว่า เพื่อน เขาเสียใจและเจ็บ” เราจะทำอะไรเพื่อช่วยให้เขารู้สึกดีขึ้นไหม ครูควรสังเกตหน้าเด็กและอาจแนะเด็กให้รถจักรยานเพื่อนที่ร้องไห้ขับ ความสามารถของเด็กที่จะแยกแยะอารมณ์เท่าๆ กับความสามารถในการแสดงความเห็นอกเห็นใจเป็นพฤติกรรมทางสังคมที่ควรฝึกให้ เด็ก เทคนิคที่ช่วยให้เด็กเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นคือการแสดงบทบาทสมมุติ (role play) 3. การใช้เด็กที่ถูกกระทำเป็นตัวอย่าง เน้นผลของการทำร้ายและมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม เช่น การชกต่อย ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากแสดงพฤติกรรมนั้นแล้ว เช่น ดูซิ นั่นทำให้เขาเจ็บ เขาร้องไห้ ฉันไม่สามารถปล่อยให้เธอทำร้ายเด็กอื่นและฉันไม่ต้องการให้ใครทำเธอเจ็บด้วย เราต้องช่วยให้ทุกคนมีความสุขและปลอดภัยในห้องนี้ 4. ช่วยให้เด็กกล้าแสดงออกกับพฤติกรรมทางสังคม ถ้าเด็กขี้อายจะไม่กล้าแสดงพฤติกรรมทางสังคม และยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตนเอง เพราะความเชื่อมั่นของเด็กมักจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการปฎิสัมพันธ์กับบุคคล อื่น5. สนับสนุนวิธีการและทางเลือกในการแก้ปัญหาและ ทางเลือกในการแก้ไขสถานการณ์ขัดแย้ง วางแผนการมีพฤติกรรมทางสังคม ช่วยเด็กคิดทีละขั้น เหตุผลในการตอบสนองเมื่อเขามีปัญหาทางสังคมกับเพื่อน ขั้นตอนอะไรที่จะเน้นการแก้ไขความขัดแย้งอย่างสงบ เด็กมีความรู้สึกเหมือนหรือต่างจากเด็กคนอื่น ครูจะต้องช่วยเด็กคิด จินตนาการถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละพฤติกรรม ครูควรช่วยเด็กที่ก้าวร้าวและ ขี้อายให้มีพฤติกรรมทางสังคมที่ดีขึ้นภายในสามเดือน 6. ใช้ปัญหาถาม เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่รบกวนคนอื่น ควรถามเรียบๆ ว่า "สิ่งที่เธอทำช่วยเธอได้อย่างไร" จะทำให้กลุ่มตระหนักว่าการกระทำของเด็กนั้นช่วยกลุ่มได้อย่างไรด้วย จะช่วยให้เด็กจำและรับผิดชอบต่อการกระทำของตน7. แสดงรูปของการช่วยเหลือคนอื่น การมีความสุขที่ได้ช่วยผู้อื่นและ ถามเด็กให้สร้างภาพโดยคำพูด การให้เด็กดูรูปเด็กที่ช่วยคนอื่น ให้ความร่วมมือ แบ่งปัน การทำงานเป็นกลุ่มและแต่งเรื่องราว จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดี ครูควรใช้คำถาม เธอคิดว่าเกิดอะไรขึ้นที่นี่” 8. ฝึกทักษะทางสังคมให้เด็ก เช่น การฟัง การพูดเพราะ การขอบคุณ การขอความช่วยเหลือ การแสดงความยินดี การคอย การเสนอตัวช่วยเหลือ การขอให้เล่นด้วย การสร้างมิตรภาพ ทักษะอื่นที่ช่วยให้เด็กสัมผัสกับความรู้สึก เด็กที่ได้รับการฝึกจะไม่เสียกำลังใจในการใช้คำสุภาพ รู้จักฟังผู้อื่นพูด เข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อน แบ่งปัน รู้จักรอคอย เข้าคิว ผลัดกัน รู้จักช่วยผู้อื่น ใช้หลักทางบวกในการสนับสนุนพฤติกรรมทางสังคมและลดความก้าวร้าว9. การใช้เหตุผล การรับฟังอย่างเห็นใจและขั้นตอนการใช้อำนาจ ความรัก การทำข้อตกลงจะช่วยให้เด็กเข้าใจกฎ รู้จักฟัง การอธิบายจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม การใช้อำนาจและการลงโทษจะน้อยลง เด็กก็จะมีระดับของเหตุผลมากขึ้น 10. ป้องกันสื่อที่รุนแรง โปรแกรมทีวีที่เป็นพฤติกรรมไม่ดี จะเป็นแบบของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและมีส่วนสนับสนุนให้เด็กพัฒนาพฤติกรรม ทางสังคมไปในทางที่ไม่เหมาะสมได้ การที่พ่อแม่ใช้เหตุผลและอธิบายให้เด็กเข้าใจอาจจะช่วยลดผลจากรายการทีวีที่ มีพฤติกรรมไม่ดีได้บ้าง
11. การตอบสนองและเตรียมทางเลือกต่อพฤติกรรมก้าวร้าว ผู้ดูแลเด็กไม่ควรเพิกเฉยต่อพฤติกรรมก้าวร้าว หรือยอมให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น รังแกเพื่อน ควรสอนถึงวิธีการทำให้เพื่อนรู้สึกดีขึ้น ครูควรรู้จักนำพฤติกรรมที่ไม่ดีมาใช้ในทางที่ยอมรับ เช่น เด็กขว้างลูกบอลไปที่เพื่อนคนหนึ่งอาจถูกฟาดกลับโดยเพื่อนคนอื่นได้ สอนการโกรธ การใช้คำแสดงความรู้สึกโกรธ ใช้คำแทนการกระทำ เช่น "ฉันรู้สึกหัวเสียเมื่อเกมถูกรบกวน" "ฉันไม่สามารถสร้างเสร็จถ้าเขาเอา บล๊อกไป" "ฉันใช้อันนี้ก่อน และฉันต้องการเล่นต่อให้เสร็จ"
การ พัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กต้องมีครูและพ่อแม่ที่มีความรู้ความเข้าใจเด็ก พร้อมที่จะช่วยสนับสนุนเด็กให้พัฒนาได้ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ เฉกเช่นการทำงาน หากเรามุ่งหวังให้งานสำเร็จออกไปด้วยดี เราก็ต้องทุ่มเทเวลา กำลังความสามารถที่มีอยู่ เด็กก็เช่นกัน เขาต้องการเวลาและความสามารถของครู พ่อแม่และผู้ใหญ่ ที่จะช่วยให้เขาเติบโตเป็นคนที่ดีในสังคม หากเราหวังแต่จะได้สิ่งดีๆ โดยไม่คิดจะลงทุนลงแรงอะไรเลย คงเป็นเรื่องยากอยู่ซักหน่อยละมัง

ธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย


การพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย

                      


ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ  แรกเกิดถึง 7 ปี  หากมาส่งเสริมหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไปถึง 80 % ของผู้ใหญ่  ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก  ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น  เรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม  ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม  เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ
            สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ  สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมาย ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น  สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
            การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 ประการ คือ 1.)การทำงานของสมอง  2.)การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก  3.)กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเปิดกว้าง ให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เนื่องจากสมองเรียนรู้ตลอดเวลา  ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง  ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้เด็กไทยได้พัฒนาศักยภาพสมองของเขาอย่างเต็มความสามารถ

            การทำงานของสมอง
            สมองเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่  เมื่อคลอดออกมาจะมีเซลล์สมองเกือบทั้งหมดแล้วเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่  สมองยังคงเติบโตไปได้อีกมากในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี เด็กวัยนี้จะมีขนาดสมองประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่  หลังจากวัยนี้ไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มเซลล์สมองอีกแต่จะเป็นการพัฒนาของโครงข่ายเส้นใยประสาท  ในวัย 10 ปีเป็นต้นไปสมองจะเริ่มเข้าสู่วัยถดถอยอย่างช้าๆจะไม่มีการสร้างเซลล์สมองมาทดแทนใหม่อีก  ปฐมวัยจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญยิ่งของมนุษย์
            สมองประกอบด้วย เซลล์สมองจำนวนกว่า 1  แสนล้านเซลล์  ลักษณะของเซลล์สมองแต่ละเซลล์จะมีส่วนที่ยื่นออกไปเป็นเส้นใยสมองแตกแขนงออกมามากมายเป็นพัน ๆ เส้นใยและเชื่อมโยงต่อกับเซลล์สมองอื่น ๆ  เส้นใยสมองเหล่านี้เรียกว่า แอกซอน (Axon)และเดนไดรท์ (Dendrite)จุดเชื่อมต่อระหว่างแอกซอนและเดนไดรท์ เรียกว่า ซีนแนปส์ (Synapses)เส้นใยสมองแอกซอนทำหน้าที่ส่งสัญญาณกระแสประสาทไปยังเซลล์สมองที่อยู่ถัดไป  ซึ่งเซลล์สมองบางตัวอาจมีเส้นใยสมองแอกซอนสั้นเพื่อติดต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่อยู่ชิดกัน  แต่บางตัวก็มีเส้นใยสมองแอกซอนยาวเพื่อเชื่อมต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่อยู่ห่างออกไป  ส่วนเส้นใยสมองเดนไดรท์เป็นเส้นใยสมองที่ยื่นออกไป อีกทางหนึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณกระแสประสาทจากเซลล์สมองข้างเคียงเป็นส่วนที่ เชื่อมติดต่อกับเซลล์สมองตัวอื่น ๆ เซลล์สมองและเส้นใยสมองเหล่านี้จะมีจุดเชื่อมต่อหรือซีนแนปส์(Synapses)เชื่อมโยงติดต่อถึงกันเปรียบเสมือนกับการเชื่อมโยงติดต่อกันของสายโทรศัพท์ตามเมืองต่าง ๆ นั้นเอง
            จากการทำงานของเซลล์สมองในส่วนต่าง ๆ  ทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ สามารถเก็บเกี่ยวข้อมูลรอบตัวและสร้างความรู้ขึ้นมาได้นั้นคือ  เกิดการคิด  กระบวนการคิด  และความคิดขึ้นในสมอง  หลังเกิดความคิดก็มีการคิดค้นและมีผลผลิตเกิดขึ้น  ยิ่งถ้าเด็กมีการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้และการคิดมากเท่าไร  ก็จะทำให้เซลล์สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองใหม่ ๆ แตกแขนงเชื่อมติดต่อกันมากยิ่งขึ้น  ทำให้สมองมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยไปเพิ่มขนาดของเซลล์สมองจำนวนเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง  สมองของเด็กพัฒนาจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กพบว่า  ทักษะความคล่องตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาภายในช่วงเวลา  10 ปีแรก  ดังนั้นถ้าหากเด็กได้ฝึกฝนการใช้มือ  การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของมือจะทำให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อและสร้างไขมันล้อมรอบเส้นในสมอง  และเซลล์สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้มาก  ทำให้เกิดทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
            สมองมีหลายส่วนทำหน้าที่แตกต่างกันแต่ทำงานประสานกัน  เช่นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ  และรับรู้การเคลื่อนไหว สี รูปร่างเป็นต้น  หลายส่วนทำหน้าที่ประสานกันเพื่อรับรู้เหตุการณ์หนึ่ง  เช่น  การมองเห็นลูกเทนนิสลอยเข้ามา  สมองส่วนที่รับรู้การเคลื่อนไหว สี  และรูปร่าง  สมองจะอยู่ในตำแหน่งแยกห่างจากกันในสมองแต่สมองทำงานร่วมกันเพื่อให้เรามองเห็นภาพได้  จากนั้นสมองหลายส่วนทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงให้เราเรียนรู้และคิดว่าคืออะไร  เป็นอย่างไร  ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น สมองสามารถเรียนรู้กับสถานการณ์หลาย ๆ แบบพร้อม ๆ กันโดยการเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น สมองสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้ทางประวัติศาสตร์และคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกันได้  การทำเช่นนี้ได้เป็นเพราะระบบการทำงานของสมองที่ซับซ้อน  มีหลายชั้นหลายระดับ  และทำงานเชื่อมโยงกันเนื่องจากมีเครือข่ายในสมองเชื่อมโยงเซลล์สมองถึงกันหมด  เครือข่ายเส้นใยสมองเหล่านี้เมื่อถูกสร้างขึ้นแล้ว  ดูเหมือนว่าจะอยู่ไปอีกนานไม่มีสิ้นสุด  ช่วยให้สมองสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ทั้งในส่วนย่อยและส่วนรวม  สามารถคิดค้นหาความหมาย  คิดหาคำตอบให้กับคำถามต่าง ๆ ของการเรียนรู้และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ ออกมาได้อีกด้วย
            นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า  ความเครียดขัดขวางการคิดและการเรียนรู้  เด็กที่เกิดความเครียดจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเช่นเด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจทำให้เกิดความหวาดกลัว  เครียด  บรรยากาศการเรียนรู้ไม่มีความสุข  คับข้องใจ  ครูอารมณ์เสีย  ครูอารมณ์ไม่สม่ำเสมอเดี๋ยวดี  เดี๋ยวร้าย  ครูดุ  ขณะที่เด็กเกิดความเครียด  สารเคมีทั้งร่างกายปล่อยออกมาจะไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง  ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด  เรียกว่า  คอร์ติโซล (Cortisol)  จะทำลายสมองโดยเฉพาะสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือพื้นผิวสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด  ความฉลาด  กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสหรือสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำ  ซึ่งความเครียดทำให้สมองส่วนนี้เล็กลง  เด็กที่ได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลา  หรือพบความเครียดที่ไม่สามารถจะคาดเดาได้  ส่งผลต่อการขาดความสามารถในการเรียนรู้  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย  เพราะเด็กมีสมองพร้อมที่จะเรียนได้  แต่ถูกทำลายเพราะความเครียดทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ได้หายไปตลอดชีวิต

การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
            การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางสมองจำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานของสมองและการทำงานให้ประสานสัมพันธ์ของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา  สมองซีกซ้ายควบคุมความมีเหตุผลเป็นการเรียนด้านภาษา จำนวนตัวเลข วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ การคิดวิเคราะห์  ในขณะที่สมองซีกขวาเป็นด้านศิลปะ  จินตนาการ  ดนตรี ระยะ/มิติ หากครูสามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เด็กได้ใช้ความคิดโดยผสมผสานความ สามารถของการใช้สมองทั้งสองซีกเข้าด้วยกันให้สมองทั้งสองซีกเสริมส่งซึ่งกัน และกัน  ผู้เรียนจะสามารถสร้างผลงานได้ดีเยี่ยม เป็นผลงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถแสดงความมีเหตุผลผสมผสานในผลงานชิ้นเดียวกัน
            หลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยควรคำนึงถึงการเรียนรู้ในด้านต่างๆดังนี้  
            1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย  ฝึกการยืน เดิน วิ่ง จับ ขว้าง กระโดด การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆที่เราต้องการ  หรือพวกนักกีฬาต่างๆ
            2. ภาษาและการสื่อสาร เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริง จากการพูด การฟัง  การอ่านและการเขียน  เช่น ให้เด็กเล่าสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้ลงมือกระทำ  ฟังเรื่องราวต่างๆที่เด็กต้องการเล่าให้ฟังด้วยความตั้งใจ  เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน  เล่าจบตั้งคำถามหรือสนทนากับลูกเกี่ยวกับเรื่องราวในนิทาน  อ่านคำจากป้ายประกาศต่างๆที่พบเห็น  ให้เด็กได้วาดภาพสิ่งที่เขาได้พบเห็นหรือเขียนคำต่างๆที่เขาได้พบเห็น   
            3. การรู้จักการหาเหตุผล ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต การเปรียบเทียบ จำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ  จัดหมวดหมู่สิ่งของที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน  เรียนรู้ขนาด ปริมาณ  การเพิ่มขึ้นลดลง  การใช้ตัวเลข 
            4. มิติสัมพันธ์และจินตนาการจากการมองเห็น ให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆที่เป็นของจริง  เรียนรู้สิ่งต่างๆจากประสบการณ์ตรง  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะ  ขนาดตำแหน่ง  และการมองเห็น  สังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างรอบตัว  เข้าใจสิ่งที่มองเห็นได้สัมผัส  สามารถนำสิ่งที่เข้าใจออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
            5. ดนตรีและจังหวะ  ให้เด็กได้ฟังดนตรี แยกแยะเสียงต่างๆ  ร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี  ฝึกให้เด็กรู้จักจังหวะดนตรี
            6. การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น  ฝึกให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน เข้าใจผู้อื่น  เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น  ปฏิสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และสติปัญญา
            7. การรู้จักตนเอง รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจตนเอง จะทำให้ดูแลกำกับพฤติกรรมตนเองได้อย่างเหมาะสม 
            8. การปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ

               กระบวนการจัดการเรียนรู้
            เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่น  เรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ  ลักษณะกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นแบบเปิดกว้าง จัดให้มีประสบการณ์ที่หลากหลายโดยให้เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจหรือให้เด็กได้แสดงออกในแนวทางที่เขาสนใจ  เรียนรู้แบบปฏิบัติจริงโดยการใช้ประสาทสัมผัสกระทำกับวัตถุด้วยความอยากรู้อยากเห็น ได้ทดลองสร้างสิ่งใหม่ๆ  เด็กเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น  เด็กได้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นกลุ่มเล็กๆ  และเป็นรายบุคคล  การให้เด็กได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นทำให้เด็กได้ตรวจสอบความคิดของตน  แต่เมื่อมีปัญหาเด็กต้องการคำแนะนำจากผู้ใหญ่  ควรให้เด็กได้เรียนรู้แบบบูรณาการซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง  มีการเชื่อมโยงหลากหลายสาขาวิชา  บทบาทของครูเป็นผู้ให้คำแนะนำเมื่อเด็กต้องการและให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสม

ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก
1.      ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 
     ในการทำกิจกรรม 1 กิจกรรมพยายามให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกัน
               การเรียนจากการปฏิบัติจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจ
                    
                       ฉันฟัง  ฉันลืม
                        ฉันเห็น  ฉันจำได้
                        ฉันได้ทำ  ฉันเข้าใจ

            2.  ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ  ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่พัฒนา  ต้องฝึกให้ใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข  ไม่ให้เครียด
          3.  ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เขาพูดด้วยความตั้งใจ  และพยายามเข้าใจเขา


สารอาหารบำรุงสมอง
           อาหาร 5 หมู่มีส่วนบำรุงสมองทั้งสิ้น โดยเฉพาะทารกในครรภ์  อาหารจะเข้าไปช่วยสร้างเซลล์สมอง  เมื่อคลอดออกมาแม่ต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่เช่นเดิม  เมื่อลูกโตขึ้นปริมาณของน้ำนมของแม่ไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงต้องให้อาหารเสริม  ถ้าขาดสารอาหารเซลล์สมองจะเติบโตช้าและมีจำนวนน้อยลง  เส้นใยประสาทมีการสร้างไม่ต่อเนื่อง
           ตับและไข่  เด็กปฐมวัยต้องการธาตุเหล็กจากตับหรือไข่ ถ้าเด็กไม่กินตับหรือไข่  และหรือกินในปริมาณที่ไม่เพียงพอจะทำให้ความจำและสมาธิด้อยลง
           ปลา  สารจากเนื้อปลาและน้ำมันปลามีส่วยสำคัญต่อการพัฒนาความจำและการเรียนรู้เสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทที่เรียกว่า เดนไดร์  ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงสัมพันธ์เรื่องราวที่เรียนรู้จากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่ง อธิบายได้ว่าทำให้เด็กเข้าเรื่องที่เรียนรู้ได้ง่ายและเร็ว
ควรให้เด็กรับประทานเนื้อปลาทุกวันหรือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะเนื้อปลาทะเลเช่น ปลาทู  ปลากระพง และปลาตาเดียว เป็นต้น
           ผักและผลไม้  ผักที่มีสีเขียว  เหลืองหรือแดง  อาหารเหล่านี้ให้วิตามินซี เพื่อนำไปสร้างเซลล์เยื่อบุต่างๆทั่วทั้งร่างกายและวิตามินเอทำให้เซลล์ประสาทตาทำงานได้เต็มที่ ซึ่งส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมในการพัฒนาสมอง
           วิตามินและเกลือแร่ ช่วยในการทำงานของเชลล์ในการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน ถ้าขาดจะทำให้เชลล์สมองมีการทำงานลดลงและเชื่องช้าจะกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก
           ปลา ไก่ หมู นมและอาหารทะเล อาหารเหล่านี้มีแร่ธาตุต่างๆเช่น เหล็ก ทองแดง แมกนีเซี่ยม  สังกะสี  ฟอสฟอรัสและไอโอดีน  มีผลต่อการทำงานของเซลล์สมอง
           ผักตระกูลกะหล่ำ(ทำให้สุก) ข้าวสาลี และน้ำนมแม่ สามารถไปยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระที่อาจจะทำลายเซลล์สมองได้
           การพัฒนาศักยภาพทางสมองของเด็ก ขึ้นกับ อาหาร  พันธุกรรม  สิ่งแวดล้อมต่างๆ และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การมีโอกาสได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ  ให้เด็กมีโอกาสคิดในหลากหลายแบบเช่น คิดแสวงหาความรู้  คิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีวิจารณญาณ  คิดกว้าง คิดไกล  คิดเชิงอนาคต  คิดนอกกรอบ  ผู้ปกครองหรือครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ฝึกการคิดอย่างเหมาะสมกับวัย และมีความสุขในขณะที่ฝึก  สมองจึงจะพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  

               เด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจเหตุผล
               ลูกไม่รู้ว่าแม่เหนื่อย   ลูกไม่เข้าใจ  ลูกก็ซน ช่างซักช่างถาม อย่ารำคาญ อย่าโกรธลูกเลย 
               รักลูกก็ให้กอดลูกแล้วบอกว่าแม่รักพ่อรัก  แสดงความรักออกมาอย่างจริงใจ  แสดงความใส่ใจต่อลูก  นี้คือยาวิเศษที่ลูกต้องการ
            คนที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุดคือคนอารมณ์ดี

8 สาเหตุทำให้ลูก (วัย 2-3 ขวบ) ไม่ยอมกินอาหารที่พ่อแม่เลือก

                                            


โดยปกติเวลาที่เรากินอาหารที่ชอบ มีรสอร่อย เราจะรู้สึกมีความสุข แต่หากเราต้องถูกบังคับให้กินอาหารที่เราไม่ชอบ รสชาติไม่อร่อย เราก็มักจะกินได้น้อยตามไปด้วย แต่ปัญหาที่พบบ่อยในเด็กวัยปฐมวัย (ช่วงอายุ 2-3 ขวบ) ก็คือ ทำไมลูกของเราถึงเลือกที่จะกินอาหารบางอย่าง และไม่ยอม (บังคับเท่าไรก็ไม่ยอม) กินอาหารบางอย่าง วันนี้เรามีคำตอบและทางแก้ไขค่ะ

สาเหตุใหญ่ๆ ที่เด็กเลือกกินอาหารนั้น เกิดจาก 8 สาเหตุใหญ่ๆ ดังนี้

  1. พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเคยบังคับให้ลูกกิน ผู้ใหญ่ไม่ชอบถูกบังคับ เด็กก็ไม่ชอบถูกบังคับเช่นกัน แต่การบังคับให้กินนั้นอาจจะไม่ได้มาในรูปแบบของการจับยัดเข้าปาก แต่เป็นในรูปแบบของการใช้คำพูด น้ำเสียงต่างๆ ก็ได้เช่นกัน เช่น
    – กินอันนี้สิลูก อร่อยนะ (ใช้คำพูดไปบังคับให้ลูกกิน)
    – ทำไมไม่อยากกินละ กินอันนี้แล้วจะผิวสวยน่ารักนะ (ไปหลอกล่อให้ลูกกิน)
    – กินๆ เข้าไปเถอะลูก อย่าเรื่องมากเลย (ถากถางลูก)
    – ไม่กินก็อย่ากิน หิวจนปวดท้องอย่ามาร้องนะ (ลงโทษกับเรื่องกิน)
    ฯลฯ
    ประโยคเหล่านี้มันฝังลงไปในใจเด็ก ซึ่งในช่วงปฐมวัยนี้ เด็กจะเก็บข้อมูลทุกๆ อย่างเอาไว้แล้วเปลี่ยนเป็นประสบการณ์ต่างๆ (ทั้งด้านที่ดีและไม่ดี) เมื่อพ่อแม่เคยบังคับลูกให้กิน ลูกก็จะพยายามต่อต้านนั้นเอง
  2. พ่อแม่ให้ลูกกินมากเกินไป (กลัวไม่อิ่ม) กระเพาะของเด็กและผู้ใหญ่นั้นแตกต่างกันมาก กระเพาะอาหารของเด็กในช่วงปฐมวัยนี้จะมีขนาดเล็ก เด็กจะวิ่งเล่นและเผาผลาญพลังงานไปมาก จึงอาจจะมีการหิวระหว่างมื้อบ่อย พ่อแม่หลายคนจึงกลัวลูกจะหิวหรือกินไม่อิ่ม เลยให้ลูกกินทั้งข้าว ทั้งนม เมื่อถึงมื้ออาหารถัดไปก็ยังบังคับให้ลูกกินอีก (ทั้งๆ ที่ยังอิ่มอยู่) ถ้าเด็กไม่กินก็บังคับสารพัดทั้งคำพูด จับป้อน ฯลฯ ทำให้ลูกรู้สึกทรมาน (อึดอัด) เวลาต้องกินอาหาร
  3. หน้าตาอาหารดูไม่น่ากินและทำอาหารเดิมๆ ซ้ำๆ กินอาหารเดิมๆ ซ้ำๆ ผู้ใหญ่ยังเบื่อ แถมหน้าตาอาหารดูเละๆ ยิ่งไม่กินเข้าไปใหญ่ แล้วคิดเหรอว่าเด็กจะไม่รู้สึกเหมือนกับผู้ใหญ่บ้าง พ่อแม่บางคนกลัวลูกจะกินลำบาก ก็ทำอาหารให้ลูกย่อยง่ายๆ (จนมันดูเละๆ ไม่น่ากิน) หรือทำแต่เมนูเดิมๆ (ข้าวไข่เจียว, แกงจืดเต้าหู้ ฯลฯ) เด็กกินไป 2-3 ครั้งก็เริ่มเบื่อ พ่อแม่ควรที่จะเปลี่ยนเมนูอาหารให้ลูกเรื่อยๆ อย่าซ้ำเดิมมากเกินไป ควรเพิ่มความหลากหลายของอาหาร อาจจะมีทั้งเมนูอาหารแบบไทย จีน ฝรั่ง บ้างสลับกันไป รวมถึงการหั่นส่วนผสมให้พอดีคำ ไม่เล็กไปหรือใหญ่เกินไปสำหรับเด็ก เพราะหากเด็กต้องเคี้ยวมากเกินไปเด็กก็จะเบื่อการเคี้ยวอาหาร
  4. พ่อแม่ไม่เคยฝึกลูกให้หัดเคี้ยวอาหาร ในช่วงที่ฟันของลูกกำลังจะขึ้นนั้น (เริ่มประมาณ 9 เดือน) โดยธรรมชาติแล้วเด็กจะมีอาการคันเหงือก (หมั่นเขี้ยว) อยากจะเคี้ยวอาหาร พ่อแม่สามารถฝีกให้ลูกหัดเคี้ยวอาหารได้ง่ายๆ ด้วยการให้ลูกลองเคี้ยวขนมปังกรอบชิ้นเล็กๆ เด็กจะมีความสุขในการเคี้ยว เมื่อโตขึ้นก็ค่อยๆ เพิ่มขนาดของอาหารที่จะให้ลูกเคี้ยว ซึ่งสามารถปรับเป็นผักที่มีความกรอบ เนื้อสัตว์ที่นุ่ม (แต่มีขนาดพอดีคำ)
  5. ลูกกำลังมีปัญหาสุขภาพ หากลูกไม่สบาย หรือปวดฟัน ความอยากอาหารจะลดน้อยลง ซึ่งพ่อแม่ต้องเข้าใจด้วยว่าเป็นธรรมชาติของเด็กที่ไม่สบายก็มักจะไม่อยากอาหารใดๆ
  6. ลูกกินขนมหรือนมจนอิ่ม บ่อยครั้งที่ระหว่างมื้ออาหาร เด็กในช่วงปฐมวัยจะมักหิว (เพราะไปเล่นมาจนเหนื่อย) พ่อแม่บางคนก็ให้ลูกกินขนม รวมถึงกินนม (บางครอบครัวให้ลูกกินนมเยอะแทบจะแทนน้ำ) ทำให้เวลาถึงมื้ออาหารจริงๆ ลูกไม่ได้อยากทานอาหาร เพราะยังไม่หิวมากนั้นเอง
  7. เล่นสนุกจนลืมหิว หรือเหนื่อยเกินไป เวลาที่ผู้ใหญ่ทำอะไรที่มีความสุข สนุกสนาน เพลินๆ ส่วนมากจะไม่รู้สึกหิว เด็กในช่วงปฐมวัยก็เช่นกัน หลายครั้งที่เด็กเล่นจนเพลินจนไม่รู้สึกหิวเลยก็มี จนบางครั้งพ่อแม่ก็กังวลว่า เดี๋ยวลูกจะหิวก็รีบบังคับให้ลูกกิน ณ เวลานั้นทันที ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อลูกเลย รวมถึงบางครั้งพ่อแม่หลายคนมักจะปล่อยให้ลูกเล่นๆๆๆ ไปเรื่อยๆ พอถึงเวลา (มื้ออาหาร) ก็เรียกลูกมากินอาหาร ซึ่งการปล่อยให้ลูกเล่นมากเกินไปจนลูกเหนื่อย เมื่อเหนื่อยแล้วจะให้มากินอาหารทันทีเลยจะยากกว่ามาก
  8. พ่อแม่ก็เลือกที่จะกินอาหารเหมือนกัน ปัญหาพ่อแม่ไม่กินผักหรือกินอาหารประเภทใด ลูกๆ ก็มักจะไม่กินอาหารประเภทนั้นตามไปด้วย เพราะลูกจะจดจำสิ่งที่พ่อแม่ทำ ดังนั้นอย่าแปลกใจว่า ทำไมลูกของเราถึงไม่กินอาหารที่คุณเลือกไว้

พ่อแม่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาอาการลูกเบื่อหรือเลือกกินอาหารได้ง่ายๆ

  1. กินอาหารพร้อมหน้าพร้อมตา เวลาที่พ่อแม่ลูกได้ล้อมวงกินอาหารในแต่ละมื้อ ได้พูดคุย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างบรรยากาศที่ลูกจะซึมซับความสนุกสนาน รวมถึงควรจะกินอาหารเป็นเวลา (ตามมื้ออาหาร) อย่างสม่ำเสมอ ลูกจะซึมซับว่าเวลานี้คือเวลาที่ต้องกินข้าวแล้ว (เพราะพ่อแม่ก็จะมากินอาหารด้วย) นอกจากนั้นการให้โอกาสเด็กได้มีส่วนร่วมในแต่ละมื้ออาหารก็ทำให้เด็กรู้สึก สนุกไปกับการกินด้วย เช่น ให้ลูกหัดเป็นคนหยิบช้อนอาหารจากที่เก็บไปที่โต๊ะอาหาร หรือจัดโต๊ะอาหาร เตรียมน้ำดื่ม ฯลฯ ในระหว่างมื้ออาหารไม่ควรเปิดโทรทัศน์ไปด้วย เพราะโทรทัศน์จะเป็นตัวดึงความสนใจของเด็กและพ่อแม่ออกจากกัน
  2. ชิ้นเล็กดีกว่าชิ้นใหญ่ การเตรียมอาหารให้มีขนาดชิ้นเล็กพอดีคำ เคี้ยวง่าย เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เด็กอยากกินอาหารหรือไม่ นอกจากนั้นควรจะทำอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
  3. พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะลูกจะเลียนแบบพ่อแม่ แม้กระทั่งเรื่องกินก็เช่นกัน ถ้าพ่อแม่กินอาหารทุกอย่างด้วยความอร่อย เด็กก็จะกินตาม พ่อแม่ไม่ควรจะบอกลูกว่าพ่อไม่กินอันนั้นแม่ไม่กินอันนี้ เพราะเด็กจะจดจำและปฏิบัติตาม เพราะเด็กจะเห็นตัวอย่างจากพ่อแม่นั้นเอง นอกจากนั้นการตักอาหาร พ่อแม่ก็ไม่ควรเลือกอาหารให้ลูกเห็น เช่น เวลาตักอาหารที่มีต้นหอมก็อย่าเขี่ยต้นหอมออกให้ลูกเห็น เป็นต้น
  4. ปริมาณอาหารในแต่ละมื้อก็สำคัญ เวลาที่จะตักอาหารให้ลูก ควรตักแต่น้อย เพื่อให้ลูกกินหมดได้ เมื่อลูกกินหมดได้ ลูกจะมีความภูมิใจ หากยังไม่อิ่มค่อยตักเพิ่มทีละน้อย ให้ลูกรู้สึกว่า เขาสามารถกินอาหารได้หมด
  5. เมนูที่หลากหลาย การจะหัดให้ลูกกินอาหารใหม่ ผักหรือผลไม้แบบใหม่ ควรจะค่อยๆ เริ่มทีละน้อย โดยเวลาที่เราให้ลูกกิน พ่อแม่ควรบอกลูกว่า สิ่งนี้ชื่ออะไร อาจจะใช้ตัวละครในนิทานมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับอาหารหรือผลไม้ที่กำลังจะกิน นั้นๆ


องค์ความรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย

                               
เด็กปฐมวัย

 คือเด็กอายุ ๓ -๕ ปี พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุอาจเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการพัฒนา จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ถ้าสังเกตพบว่าเด็กไม่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนต้องพาเด็กไปปรึกษาผู้ เชี่ยวชาญหรือแพทย์เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขได้ทันท่วงที เอาว่าผมขอเอาเรื่องพัฒนาการในทุกด้านอันประกอบด้วยด้านร่างกาย, ด้านอารมณ์และจิตใจ, ด้านสังคม, และด้านสติปัญญา เป็นอันว่าครบทุกด้าน
เด็ก ปฐมวัยจัดอยู่ในระยะวัยทองของชีวิต โดยเฉพาะ 3 ปีแรก เป็นจังหวะทองของการสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก เป็นการวางรากฐานของการพัฒนาความเจริญเติบโตทุกด้าน
โดยเฉพาะทางด้านสมอง เพราะสมองเติบโตและพัฒนาเร็วที่สุด ดัง นั้นการอบรมเลี้ยงดูในช่วงระยะนี้มีผลต่อคุณภาพของคนตลอดชีวิต สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ศึกษาองค์ความรู้จากต่างประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย และการพัฒนาสมอง ที่สนับสนุนให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงวัยเริ่มแรกของชีวิต เช่น การพัฒนาสมอง ซึ่งพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงวัยนี้บทบาทของพ่อแม่ในการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การพัฒนากระบวนการคิด แนวคิดนวัตกรรมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย (แนวการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม แนวคิดมอนเตสซอรี่ แนวคิดไฮสโคปแนวคิดวอลดอร์ฟ แนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย) ตลอดจนมาตรฐานการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
องค์ ความรู้ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย และการพัฒนาสมอง จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย นับตั้งแต่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแล ผู้เลี้ยงดูเด็ก และบุคลากรที่ทำงานด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย มีแนวทาง หลักการที่ชัดเจนที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย และร่วมมือกันพัฒนาเด็กปฐมวัย ส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ให้แข็งแกร่ง เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาไปสู่วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ที่มีความสมบูรณ์พร้อมเป็นคนดี คนเก่ง ที่มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และประสบการณ์การเรียนรู้ ในช่วงเด็กปฐมวัย ยังเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในวัยต่อไป และการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
คุณลักษณะตามวัยที่สำคัญของเด็กอายุ ๓ - ๕ ปี มีดังนี้
เด็กอายุ ๓ ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย

-กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้
-รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
-เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
-เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
-ใช้กรรไกรมือเดียวได้
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
-ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
-กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
-รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
-ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
-เล่นสมมติได้
-รู้จักรอคอย
พัฒนาการด้านสติปัญญา-สำรวจสิ่งต่างๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
-บอกชื่อของตนเองได้
-ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
-สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆ ได้
-สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
-ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่ายๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
-รู้จักใช้คำถาม อะไร?
-สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่ายๆ
-อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
เด็กอายุ ๔ ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย

-กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
-รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
-เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้
-เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
-ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
-กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่เฉย
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
-เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น
-ชอบท้าทายผู้ใหญ่
-ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ
พัฒนาการด้านสังคม
-แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
-เล่นร่วมกับคนอื่นได้
-รอคอยตามลำดับก่อน-หลัง
-แบ่งของให้คนอื่น
-เก็บของเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-จำแนกสิ่งต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้
-บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
-พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
-สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
-รู้จักใช้คำถาม ทำไม?
เด็กอายุ ๕ ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย

-กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
-รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
-เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
-เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
-ตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
-ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
-ยืดตัว คล่องแคล่ว
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
-ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
-ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
พัฒนาการด้านสังคม
-ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
-เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
-พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้ ทำความเคารพ
-รู้จักขอบคุณ เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
-รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
พัฒนาการด้านสติปัญญา
-บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนก และ จัดหมวดหมู่สิ่งของได้
-บอกชื่อ นามสกุล และอายุของตนเองได้
-พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
-สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
-รู้จักใช้คำถาม ทำไม? อย่างไร?
-เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
-นับปากเปล่าได้ถึง ๒๐